กรุณารอสักครู่ค่ะ...

MON-FRI8AM - 7PMCALL US038-442200

เกี่ยวกับสุขศึกษา

โรงพยาบาลบ้านบึง Banbung Hospital

วิสัยทัศน์ Vision

“งานสุขศึกษาที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน มุ่งเน้นให้ประชาชนมีสุขภาพดี”

พันธกิจ Mission

บริการพฤติกรรมสุขภาพที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน มุ่งการบริการผสมผสาน แบบมีส่วนร่วม
พัฒนาระบบงานและฐานข้อมูล และสร้างเครื่องข่ายการพัฒนาตนเองด้านสุขภาพ

ค่านิยม Values

Focus on customer ยึดผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง
Improvement พัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
Teamwork ทำงานเป็นทีม

นโยบายด้านการดำเนินงานสุขศึกษาและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ โรงพยาบาลบ้านบึง


• สาระสำคัญของมาตรฐานสุขศึกษา
         ข้อกำหนดพันธกิจของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพและตอบสนองต่อเป้าหมายการให้บริการกระทรวงสาธารณสุข ดังนี้
                1.ประชาชนมีสุขภาพดี มีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง รวมทั้งมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพที่เหมาะสม
                2.ประชาชนสามารถเข้าถึงหลักประกันสุขภาพ ได้รับบริการสุขภาพ และบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีคุณภาพมาตรฐาน

                   อย่างทั่วถึงเป็นธรรม
• ส่วนประกอบของมาตรฐานงานสุขศึกษา มี 4 หมวด 10 องค์ประกอบ
                50 ตัวชี้วัดของโรงพยาบาลทั่วไป 49 ตัวชี้วัดของโรงพยาบาลชุมชน
                และ 39 ตัวชี้วัดของ รพ.สต. ศูนย์สุขภาพชุมชน และสถานีอนามัย มีดังนี้
หมวดที่ 1 การบริหารจัดการองค์กร ประกอบด้วย
                องค์ประกอบที่ 1 นโยบายการดำเนินงานสุขศึกษาและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ
                องค์ประกอบที่ 2 ทรัพยากรการดำเนินงานสุขศึกษาและพัฒนาพฤติกรรสุขภาพ
                องค์ประกอบที่ 3 ระบบข้อมูลข่าวสารสนเทศด้านสุขศึกษาและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ ข้อมูลพฤติกรรมสุขภาพ

                                    สภาวะสุขภาพของประชาชนเป็นโจทย์ตัวเลข ของการดำเนินงานของหมวดที่ 2 และการพัฒนาวิชาการ
                                    สำหรับหมวดที่ 3 มีศูนย์สื่อสนับสนุน และมีเครือข่ายสุขภาพร่วมดำเนินการข้อมูลจะมีความสัมพันธ์กัน
                                    อย่างเป็นระบบต่อเนื่อง
หมวดที่ 2 กระบวนการดำเนินงาน ประกอบด้วย
                องค์ประกอบที่ 4 แผนการดำเนินงานสุขศึกษาและพฤติกรรมสุขภาพ (บูรณาการเข้ากับการจัดทำแผนปฏิบัติประจำปี)
                องค์ประกอบที่ 5 กิจกรรมสุขศึกษาและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ บูรณาการเข้ากับการดำเนินงานแก้ไขปัญหาสาธารณสุข                                                                                    กระบวนการสุขศึกษาจะเป็นการดำเนินงานปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เป็นสาเหตุของการเจ็บป่วย
                                    กิจกรรมครอบคลุม 3 ด้าน คือ (1)การจัดกระบวนการเรียนรู้ (2)การพัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อการพัฒนา    
                                    พฤติกรรมสุขภาพ และ (3)การปรับสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการพัฒนาพฤติกรรม ให้การครอบคลุม
                                    3 สถานที่ คือ (1)ในสถานบริการสุขภาพ (2)แหล่งชุมชน และ (3)โรงเรียนในพื้นที่
                องค์ประกอบที่ 6 การติดตามสนับสนุนการดำเนินงานสุขศึกษาและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ  เป็นการติดตามสนับสนุนให้
                                    การจัดกิจกรรมในองค์ที่ 5 มีประสิทธิภาพ  ดังนี้  การติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วย  การติดตามสนับสนุนเครือข่าย 
                                    สุขภาพ ชมรมฯ โรงเรียน   มีการสรุปเสนอผู้บริหารเพื่อนำผลกานิเทศไปพัฒนางาน
                องค์ประกอบที่ 7 การประเมินผลการดำเนินงานสุขศึกษาและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ   เป็นการประเมินตามวัตถุประสงค์ของ                                                                                แผนงานโครงการ  โดยระบุการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพ  ผู้บริหารจะทราบ
                                    กระบวนการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพที่มีความต่อเนื่อง และเห็นทิศทางว่าจะสามารถ
                                    แก้ไขปัญหาสาธารณสุขได้หรือไม่ จากหมวดที่ 2 นี้  หากดำเนินการเป็นขั้นตอน จะสามารถแก้ไขปัญหา                                                                                      สาธารณสุขได้อย่างมีประสิทธิภาพ
หมวดที่ 3 กระบวนการพัฒนาคุณภาพบริการ ประกอบด้วย
                องค์ประกอบที่ 8 การเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพ   เป็นข้อมูลสำหรับการดำเนินงานสุขศึกษาและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ
                                    เพื่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการพัฒนาทักษะที่ถูกต้อง  ซึ่งจะเป็นการพัฒนาวิชาการ 
                                    และพัฒนากระบวนการทำงานของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน
                องค์ประกอบที่ 9 การวิจัยที่เกี่ยวกับสุขศึกษาและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ   เป็นการศึกษากระบวนการดำเนินงานและปัจจัย

                                    ที่มีผลต่อการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ
หมวดที่ 4  ผลลัพธ์การดำเนินการ    ประกอบด้วย
                องค์ประกอบที่ 10  ผลลัพธ์การดำเนินงานสุขศึกษาและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ  3 ด้าน  ดังนี้
                                      ด้านผู้รับบริการ   ความพึงพอใจของชุมชน   และด้านวิชาการ  มีนวัตกรรมด้านสุขศึกษาและพัฒนาพฤติกรรม                                                                            สุขภาพที่เกิดขึ้นจากกระบวนการดำเนินงานบทสรุป   การพัฒนางานสุขศึกษา
จึงเป็น
                                      การจัดกระบวนการดำเนินงานแก้ไขปัญหาสาธารณสุขให้มีความชัดเจนขึ้น  โดยเฉพาะการจัดกิจกรรม
                                      ที่เหมาะสมต่อการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ  ที่จะนำไปสู่การลดอัตราป่วยตายจากโรคติดต่อ 
                                      และโรคไม่ติดต่อ  ลดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มผู้ป่วยเรื้อรัง  ทั้งยังเป็นการทำงานแบบมีส่วนร่วมกับเครือข่ายสุขภาพ
     เป็นการจัดระบบข้อมูลสารสนเทศ  ข้อมูลพฤติกรรม  ข้อมูลสื่อ การจัดศูนย์สื่อสุขศึกษาให้เป็นระบบ  กาเชื่อมโยงข้อมูลทั้งภายในและภายนอกองค์กร 
ขอให้ท่านผู้บริหารมีนโยบาที่ชัดเจนและให้การสนับสนุนสถานบริการในสังกัดดำเนินการ  จะส่งผลให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพและเป็นระบบมากขึ้น


บทบาทและหน้าที่


1.ดำเนินงานตามนโยบายสุขศึกษาและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ

2. ใช้ทรัพยากรการดำเนินงานสุขศึกษาและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพให้เกิดประโชยน์สูงสุด คุ้มค่าด้วยความประหยัด

3.พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ ด้านการดำเนินงานสุขศึกษาและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ

4. จัดทำแผนและดำเนินงานตามแผนสุขศึกษาและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ

5.จัดกิจกรรมสุขศึกษาและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ

6.นิเทศงานสุขศึกษาและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ

7.ประเมินผลการดำเนินงานสุขศึกษา พัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ และเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพ

8.จัดทำวิจัยผลงานที่ภาคภูมิใจที่เกี่ยวข้องกับสุขศึกษาและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ

ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 เป็นต้นไป


038-442200


โทรฯ หาเรา ทีมงาน โรงพยาบาล บ้านบึง ชลบุรี พร้อมให้บริการ


สงวนลิขสิทธิ์ © 2562 โรงพยาบาลบ้านบึง ชลบุรี